สรุปตัวอย่างการสอน Teaching Example
ดินน้ำมันลอยน้ำได้อย่างไร ?
How can the clay floating ?
โดยกิจกรรมนี้เกิดจากการที่เด็กในห้องเรียนได้นำดินน้ำมันไปใส่ถังน้ำ ปรากฎว่าดินน้ำมันจม เด็กคนนั้นจึงมาถามครูปราณีว่าทำอย่างไรดินน้ำมันถึงจะลอย ครูปราณีจึงถามเด็กๆทุกคนว่าอยากรู้หรือไม่ จึงเกิดเป็นกิจกรรมนี้ขึ้นมา
โดยขั้นแรกครูปราณีได้เขียนแผนโดยการนำดินน้ำมันมาปั้นเป็นรูปร่างต่าง ๆ เช่น รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า รูปสี่เหลี่ยมจัสตุรัส วงกลม และสามเหลี่ยม จากนั้นก็จัดกระบวนการสังเกตสี และสำรวจความคิดอย่างเป็นระบบของเด็ก ๆ โดยทำเป้นตารางมีสี มีรูปร่างติดประกอบ เพื่อให้เด็ก ๆ นับจำนวนของดินน้ำมันรูปร่างต่าง ๆ และสีของดินน้ำมัน เมื่อเสร็จแล้วครูปราณีได้แจกใบงานให้กับเด็ก ๆ โดยอย่างแรกของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เด็กต้องคาดคะเนก่อนว่าจะปั้นดินน้ำมันออกมาในรูปอะไร เด็ก ๆ ทุกคนได้ปั้นออกมาเป็นรูปถ้วย และนำไปลอยน้ำได้ ในใบงานจะมีสองฝั่งคือ ฝั่งที่เด็กๆออกแบบรูปร่างของดินน้ำมัน อีกฝั่งเป็นสิ่งที่สรุปออกมาได้ คือดินน้ำมันลอยน้ำ โดยที่ดินน้ำมันลอยได้เป็นเพราะเด็ก ๆ ปั้นให้ฐานเป็นแบนๆคล้ายเรือ เนื่องจาก วัตถุนั้นมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ และน้ำก็มีแรงดันวัตถุให้ลอยขึ้นมา ซึ่งแรงนี้จะขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ำที่ถูกวัตถุนั้นแทนที่ ยิ่งวัตถุมีพื้นที่สัมผัสกับน้ำมากเท่าไหร่ หรือเข้าไปแทนที่น้ำได้มาก (สังเกตจากปริมาณน้ำในขันหรือชามที่สูงขึ้น) ความหนาแน่นของวัตถุจะลดลง และแรงลอยตัวจะเพิ่มขึ้น วัตถุจึงลอยตัวในน้ำได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น