พุยพุย

วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2561

สรุปวิจัยวิทยาศาสตร์

สรุปวิจัยวิทยาศาสตร์ Scientific Research

การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และจิตวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์
ด้วยการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5 E
THE DEVELOPMENT OF PROBLEM SOLVING ABILITY AND SCIENTIFIC MIND OF EARLY CHILDHOOD STUDENT TAUGHT BY INQUIRY METHOD PROVISION OF EXPERIENCES 5 E

โดย นางสาวกนกวรรณ พิทยะภัทร
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต
สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ
ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
ปีการศึกษา 2556
ลิขสิทธ์ของบณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

จุดประสงค์ของวิจัย
     1. เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังการจัดประสบการณ์ด้วยการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E
     2. เพื่อศึกษาจิตวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นนอนุบาลปีที่ 2 หลังได้รับการจัดประสบการณ์ด้วยการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E

ขอบเขตการวิจัย
     1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
          1.1 ประชากรได้แก่เด็กปฐมวัยชาย หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปีทีกำลังศึกษาอยู่ชันอนุบาลปีที2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2556 ของโรงเรียนในกลุ่มเครือขายลาดใหญ่จํานวน 10 โรงเรียน สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม จํานวน 200คน
          1.2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่เด็กปฐมวัยชาย หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปีที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนบ้านลาดใหญสามัคคีซึ่งได้จากการสุ่มอย่างง่าย(Simple Random Sampling) โดยวิธีการจับสลากห้องเรียนได้ห้องอนุบาลปีที่ 2 จํานวน 23 คน
     2. ตัวแปรทีศึกษา
           2.1 ตัวแปรอิสระ ได้แก่การจัดประสบการณ์ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E
           2.2 ตัวแปรตาม ได้แก่
             2.2.1 ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา
             2.2.2 จิตวิทยาศาสตร์ 3 ด้าน ดังนี้ ความสนใจใฝ่รู้ ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์
     3. ขอบเขตเนื้อหาหัวข้อเรื่องที่นำมาสร้างแผนการจัดประสบการณ์สาระที่ควรเรียนรู้ด้านเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่
     4. ระยะเวลา ใช้เวลาในการดำเนินการจัดประสบการณ์ 8 สัปดาห์สัปดาห์ละ 5 วัน

          ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์  มี 4 ด้าน
1.สังเกต เปรียบเทียบ
2.การจัดหมวดหมู่
3.การเรียงลำดับ
4.การรู้ค่าจำนวน

          เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 
1.แผนการจัดกิจกรรมการสาน
2.แผนทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

          ผลการวิจัยพบว่า 
1.ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งโดยรวมและรายด้านของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมการสานสูงกว่าก่อนจัดกิจกรรมการสาน
 2.เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนการทดลองโดยรวมและรายด้าน ทุกด้านอยู่ในระดับพอใช้ หลังการทดลองโดยรวมและรายด้าน ทุกด้านอยู่ในระดับดี

ตัวอย่างแผนการจัดประสบการณ์ 


ตัวอย่างแบบทดสอบ
ตัวอย่างแบบสังเกต


สรุปบทความ

สรุปบทความวิทยาศาสตร์ Science Articles
สอนเรื่องสีให้วัยอนุบาลช่วยกระตุ้น
พัฒนาการรอบด้าน
Teach color to preschool to stimulate development
ลิงค์ :: https://th.theasianparent.com
บทความของ :: มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร

     โดยสีที่เราเห็น รอบๆตัวเรามีทั้งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และที่มนุษย์สร้างขึ้นอีกมากมาย แสดงให้เห็นว่าสีมีความสำคัญต่อมนุษย์เรา สีมีความเข้มในระดับต่าง ๆ ตั้งแต่สีอ่อนไปจนสีเข้ม ดังนั้นการสนับสนุนให้เด็กสังเกตสีของวัตถุตามธรรมชาติ และวัตถุที่ผลิตจากมนุษย์จะทำให้เด็กรู้จักสีต่าง ๆ ระดับความเข้มจางของสี แหล่งที่มาของสี การนำสีมาใช้ประโยชน์ 

สี ช่วยกระตุ้นพัฒนาการรอบด้าน ได้แก่
     1. ช่วยให้เด็กเข้าใจโลกและสิ่งที่อยู่รอบตัว เพราะสีอยู่รอบ ๆ ตัวเด็ก สีจะช่วยกระตุ้นพัฒนาการทางด้านการมองของเด็กได้อย่างดี
     2. สีช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง เด็กมีความรู้สึกต่อสี หรือสีมีความรู้สึกต่อเด็กได้ สิ่งเหล่านี้จะไปกระตุ้นสมองทำให้เกิดการสร้างเครือข่ายเส้นใยประสาท และทำให้เส้นใยประสาทอยู่คงทน
     3.สีกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้งห้า เป็นการที่เด็กได้เกิดการสังเกตเกี่ยวกับลักษณะ และคุณสมบัติของวัตถุนั้นได้
     4. การสังเกตสีเป็นพื้นฐานข้อมูลสำหรับเด็ก สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็กมีสีทำให้เด็กจำแนกแยกแยะได้ 
     5. การเรียนรู้เรื่องสีมีผลต่อการพัฒนาภาษาของเด็ก เมื่อเด็กได้เห็นสี ได้ยินคำศัพท์เกี่ยวกับสี ได้สัมผัส จะเป็นการเร้า และเสริมการรับรู้ให้เด็กมีการใช้ภาษา สามารถติดต่อสื่อสารได้
     6. นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ในการเลือกสวมเสื้อผ้า การข้ามทางม้าลายที่มีสีขาวและดำ


สรุปตัวอย่างการสอน

สรุปตัวอย่างการสอน Teaching Example

ดินน้ำมันลอยน้ำได้อย่างไร ? 

How can the clay floating ?


คุณครูปราณี ศรีรักแก้ว โรงเรียนอนุบาลเมืองอุทัยธานี จ.อุทัยธานี แนะนำการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้วิธีสืบเสาะหาความรู้ สำหรับนักเรียน ในระดับชั้นอนุบาล โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ให้ผู้เรียน ได้มีการสังเกต คิดวิเคราะห์ และเรียนรู้อย่างสนุกสนาน ตามศักยภาพ
โดยกิจกรรมนี้เกิดจากการที่เด็กในห้องเรียนได้นำดินน้ำมันไปใส่ถังน้ำ ปรากฎว่าดินน้ำมันจม เด็กคนนั้นจึงมาถามครูปราณีว่าทำอย่างไรดินน้ำมันถึงจะลอย ครูปราณีจึงถามเด็กๆทุกคนว่าอยากรู้หรือไม่ จึงเกิดเป็นกิจกรรมนี้ขึ้นมา
โดยขั้นแรกครูปราณีได้เขียนแผนโดยการนำดินน้ำมันมาปั้นเป็นรูปร่างต่าง ๆ เช่น รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า รูปสี่เหลี่ยมจัสตุรัส วงกลม และสามเหลี่ยม จากนั้นก็จัดกระบวนการสังเกตสี และสำรวจความคิดอย่างเป็นระบบของเด็ก ๆ โดยทำเป้นตารางมีสี มีรูปร่างติดประกอบ เพื่อให้เด็ก ๆ นับจำนวนของดินน้ำมันรูปร่างต่าง ๆ และสีของดินน้ำมัน เมื่อเสร็จแล้วครูปราณีได้แจกใบงานให้กับเด็ก ๆ โดยอย่างแรกของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เด็กต้องคาดคะเนก่อนว่าจะปั้นดินน้ำมันออกมาในรูปอะไร เด็ก ๆ ทุกคนได้ปั้นออกมาเป็นรูปถ้วย และนำไปลอยน้ำได้ ในใบงานจะมีสองฝั่งคือ ฝั่งที่เด็กๆออกแบบรูปร่างของดินน้ำมัน อีกฝั่งเป็นสิ่งที่สรุปออกมาได้ คือดินน้ำมันลอยน้ำ โดยที่ดินน้ำมันลอยได้เป็นเพราะเด็ก ๆ ปั้นให้ฐานเป็นแบนๆคล้ายเรือ เนื่องจาก วัตถุนั้นมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ   และน้ำก็มีแรงดันวัตถุให้ลอยขึ้นมา ซึ่งแรงนี้จะขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ำที่ถูกวัตถุนั้นแทนที่ ยิ่งวัตถุมีพื้นที่สัมผัสกับน้ำมากเท่าไหร่  หรือเข้าไปแทนที่น้ำได้มาก (สังเกตจากปริมาณน้ำในขันหรือชามที่สูงขึ้น) ความหนาแน่นของวัตถุจะลดลง และแรงลอยตัวจะเพิ่มขึ้น วัตถุจึงลอยตัวในน้ำได้



Recording Diary 15 November 23, 2018 Time : 8.30 AM. - 12.30 PM.


Knowledge content received :: วันนี้เป็นการเรียนครั้งสุดท้าย อาจารย์ได้สรุปเนื้อหาที่เรียนมาทั้งหมด และบอกถึงการส่งงานในวันสุดท้าย คือวันที่ 9 ธันวาคม 

มีงานสองชิ้นสุดท้ายที่อาจารย์ได้มอบหมายให้ทำงานชิ้นแรกเป็นการทำวิดีโอภาพ โดยใช้โปรแกรม Biteable ทำเป็นภาพของโครงการวิทยาศาสตร์น่ารู้ที่เราได้ไปจัดให้กับเด็ก ๆ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม



ในวิดีโอจะมีการแนะนำสมาชิก และการดำเนินการในแต่ละขั้นของโครงการ
และงานชิ้นสุดท้ายคือนำสื่อที่ทำในวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีมาเชื่อมโยงกับวิทยาศาสตร์ 





Teaching Techniques :: อาจารย์ได้สรุป และเปิดโอกาสให้นักศึกษาออกความคิดเห็น สนทนาร่วมกันเพื่อให้ได้ข้อสรุปของงานต่าง ๆ อีกทั้งยังมีสื่อการสอนที่น่าสนใจนำมาให้นักศึกษาได้ลองทำ และนำไปใช้ได้ในวิชาต่าง ๆ

Apply :: นำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้จัดประสบการณ์ให้กับเด็ก ๆ ได้ตั้งแต่ต้นจนจบ และยังสามารถนำเทคนิคที่อาจารย์ให้ หรือสอนไปปรับปรุงในการใช้ในชีวิตประจำวันได้

Assessment :: 

     My self :: เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังที่อาจารย์พูด

     Friend :: มีคนมาสายบ้าง ตั้งใจฟังในสิ่งที่อาจารย์พูด
     Teacher :: อาจารย์ได้อธิบายการทำวิดีโอได้อย่างเข้าใจ 

Recording Diary 14 November 16, 2018 Time : 8.30 AM. - 12.30 PM.

Knowledge content received :: หลังจากอาทิตย์ที่แล้วอาจารย์ให้ทำแผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย อาจารย์จึงให้จับกลุ่มเดิม เลือก 1 แผนที่สนใจ จากนั้นทำ Mind map จากคอม 


แผ่นที่ 1 อาจารย์ได้ให้ไปแก้ตรงประโยชน์และข้อควรระวัง

แผ่นที่ 2 ได้นำไปแก้เสร็จสมบรูณ์แล้ว
จากนั้นนำหัวข้อแต่ละอย่างมาเขียนแผน แบ่งออกเป็นทีละหัวข้อ 
ชนิดพันธุ์(วันจันทร์) 
ลักษณะ(วันอังคาร) 
การดำรงชีวิต(วันพุธ) 
ประโยชน์และข้อควรระวัง(วันพฤหัสบดี)และ
การอนุรักษ์(วันศุกร์) มีขั้นนำ ขั้นดำเนินการสอน และขั้นสรุป




Teaching Techniques :: อาจารย์ให้คำแนะนำในการใช้สื่อการสอนที่ทันสมัย สามารถพัฒนาตัวเองยิ่งขึ้นในการเขียน mind map

Apply :: ได้รู้จักการทำแผนประสบการณ์ โดยใช้เป็นแนวทางในการทำแผนในครั้งต่อไป และการทำ mind map ให้ถูกวิธี

Assessment :: 

     My self :: เข้าเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการทำงานกับเพื่อน ๆ ในกลุ่ม
     Friend :: เพื่อน ๆ ตั้งใจฟัง 
     Teacher :: อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา ให้เวลาในการทำงานโดยไม่เร่งรัด

Recording Diary 13 November 9, 2018 Time : 8.30 AM. - 12.30 PM.

Knowledge content received :: อาจารย์ให้ดูคลิปการ์ตูนวิทยาศาสตร์เรื่อง ความลับของแสง ดูคลิปแล้วร่วมกันพูด คุย สนทนาถึงแนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้ในการสอน หรือจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัย



แสง คือคลื่นพลังงานที่เดินทางด้วยอัตราเร็วสูง 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที และเดินทางเป็นเส้นตรงไม่มีการเปลี่ยนทิศทาง 

แสงที่ได้จากธรรมชาติ คือ แสงจากดวงอาทิตย์ 
แสงที่เกิดขึ้นจากมนุษย์ คือ แสงสว่างจากหลอดไฟ

วัตถุการส่องผ่านของแสง 



วัตถุโปร่งใส :: วัตถุที่แสงส่องผ่านได้หมดเราจึงสามารถมองผ่านวัตถุโปร่งใส และมองเห็นวัตถุที่อยู่อีกข้างหนึ่งได้อย่างชัดเจน วัตถุโปร่งใสมีหลายชนิด เช่น กระจกใส แก้วใส่น้ำ และแผ่นพลาสติกใส เป็นต้น
วัตถุโปร่งแสง :: วัตถุที่แสงผ่านได้ แต่เมื่อเรามองผ่านวัตถุโปร่งแสง จึงเห็นวัตถุอีกด้านหนึ่งไม่ชัดเจน เช่น กระดาษชุบน้ำมัน กระจกฝ้า กระดาษไข หรือกระดาษลอกลาย เป็นต้น
วัตถุทึบแสง :: วัตถุที่แสงผ่านไปไม่ได้ เช่นผ้า แผ่นไม้ และกระดาษหนา เป็นต้น

กล้องรูเข็ม


Image result for กล้องรูเข็ม

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้บันทึกภาพด้วยการปล่อยให้แสงจากวัตถุฉายผ่านรูขนาดเล้กให้ตกลงบนแผ่นฟิล์ม โดยภาพที่ปรากฎจะเป็นภาพกลับหัว เพราะว่าแสงถูกบีบและเฉียงกระทบลงข้างล่าง แต่ถึงอย่างไรสมองของเราสามารถปรับให้เป็นภาพปกติได้ตามอัตโนมัติ

การสะท้อนของแสง


เงาในกระจกเกิดจากการสะท้อนของแสง และทิศทางจะตรงข้ามกับทิศทางที่ส่อง หากเรามองเห็นภาพมีขนาดเยอะเป็นเพราะมุมองศาแคบลง สะท้อนกลับไปกลับมา

กล้องคาไลโดสโคป


ภาพที่เห็นในกล้องคาไลโดสโคป มาจากหลักการสะท้อนของแสง โดยแสงในกล้อง สะท้อนจากกระจกแผ่นหนึ่งไปยังกระจกแผ่นอื่นทำให้เกิดภาพที่เห็นมีรูปแบบต่างๆ เมื่อหมุนกล้องภาพก็จะเปลี่ยนรูปแบบไปด้วยกล้องคาไลโดสโคปส่วนใหญ่ใช้กระจกระนาบ วางทำมุม 60 องศา ซึ่งทำให้เกิดเป็นภาพที่เสมือนมีกระจกอยู่ 6 ด้าน เท่า ๆ กันทุกด้าน

การหักเหของแสง


แสงผ่านตัวกลางคนละชนิดกัน และมีความหนาแน่นต่างกัน เป็นผลทำให้ทิศทางของแสงเปลี่ยนแปลงไปด้วย

รุ้งกินน้ำ


เป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติเกิดขึ้นหลังฝนตก โดยเกิดจากแสงแดดส่องผ่านละอองน้ำ เราสามารถทำรุ้งได้เองโดยฉีดละอองน้ำไปในอากาศกลางแสงแดด


ในรุ้งกินน้ำจะประกอบด้วยทั้งหมด 7 สี ได้แก่ สีม่วง สีคราม สีน้ำเงิน สีเขียว สีเหลือง สีแสด และสีแดง โดยสีม่วงมีการหักเหมากที่สุด สีแดงมีการหักเหน้อยที่สุด


อาจารย์มอบหมายให้ทำแผนจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก คิดเนื้อหาอย่างละเอียดว่าต้องการสอนอะไรบ้าง และอาจารย์ก็ให้ไปปรับแก้ตรงประวัติ และให้มีตัวย่อย ๆ มากขึ้น



Teaching Techniques :: จากที่ดูวิดีโอซึ่งมีความยาวมาก อาจารย์จะหยุดหากว่าจบเรื่องใดเรื่องหนึ่งไปแล้ว เพื่ออธิบายเพิ่มเติมให้เข้าใจมากขึ้น และมีคำถามกระตุ้นให้นักศึกษาสนใจมากขึ้น

Apply :: สามารถนำการทดลองไปปรับปรุงให้เข้ากับเด็กปฐมวัยมากขึ้น เช่น การทำรุ้งกินน้ำที่ง่ายและเด็กทุกคนสามารถทำได้ 

Assessment :: 

     My self :: เข้าเรียนตรงเวลา จดทุกครั้งที่อาจารย์อธิบายเพิ่มเติม มีตอบคำถามบ้าง
     Friend :: ทุกคนตั้งใจฟัง และให้ความสนใจกับสิ่งที่อาจารย์สอน
     Teacher :: อาจารย์มาตรงเวลา อธิบายเพิ่มเติมได้เข้าใจ 





วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2561

Recording Diary 12 November 2, 2018 Time : 8.30 AM. - 12.30 PM.


Image result for gif น่ารักๆ welcome

Knowledge content received :: อาจารย์ให้นำเสนอคลิปเป็นกลุ่ม ก่อนจะนำไปจัดกิจกรรมที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม



Things to improve :: 1. ในการทดลองควรที่จะเก็บของให้หมดจากโต๊ะ ให้เหลือแค่อุปกรณ์ที่จะใช้ทดลอง เพื่อไม่ให้ดูรกจนเกินไป
                                    2. ในช่วงการทดลองเรื่อน้ำเปลี่ยนรูปร่างตามภาชนะ ไม่ควรพูดถึงเรื่องปริมาณน้ำที่แตกต่างกัน

*เขียนขั้นตอน หรือตัวหนังสือมา เพื่อให้เด็กได้ประสบการณ์ถึงแม้ว่าเขายังอ่านไม่ออก หากเขาเห็นอาจจะจำ

ภาพกิจกรรมโครงการวิทยาศาสตร์น่ารู้



เตรียมความพร้อมให้กับเด็ก ๆ โดยการร้องเพลง เล่นกิจกรรมก่อนที่จะแบ่งกลุ่มเข้าฐานในแต่ละฐาน



ฐาน ปริศนาซี โอ ทู



ฐาน ความลับของสีดำ



ฐาน ติด ดับ จับ ต่อ



ฐาน น้ำนิ่งไหลลึก

Related image

Teaching Techniques :: อาจารย์ ได้ดูแต่ละกลุ่มและให้คำแนะนำเพื่อนำไปปรับแก้ไขให้ถูกต้อง เพื่อว่าเวลานำไปสอนเด็กๆจะได้เข้าใจมากขึ้น

Apply :: สามารถนำข้อแนะนำของอาจารย์ไปปรับปรุงให้การพูดดีขึ้น เข้าใจมากขึ้น

Assessment :: 

     My self :: เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังที่อาจารย์พูดบ้าง จดทุกครั้งที่อาจารย์พูด
     Friend :: ทุกคนตั้งใจฟังบ้าง อาจจะมีคุยกันในห้องบ้าง
     Teacher :: อาจารย์ได้อธิบายการนำเสนอที่ถูกวิธีได้ละเอียด


Related image